ผลการศึกษา
 

บทคัดย่อ
Abstract
บทนำ
วัสดุและวิธีการ
ผลการศึกษา
วิจารณ์
กิตติกรรมประกาศ
เอกสารอ้างอิง

Table of Contents

hit counter

My Web Stats Until Dec 2008

จากการศึกษาอุจจาระ 337 ตัวอย่าง ด้วยวิธี simple smear การย้อมด้วยสี trichrome และ การเพาะเชื้อในหลอดทดลอง ได้ผลดังตารางที่ 1

 

ตารางที่ 1 การตรวจพบเชื้อ B. hominis ในอุจจาระสด ด้วย simple smear และการย้อมด้วยสีพิเศษ trichrome เมื่อเปรียบเทียบกับการเพาะเชื้อในหลอดทดลอง

วิธีการวินิจฉัย

การเพาะเชื้อ

รวม

(%)

ผลบวก (%)

ผลลบ (%)

Simple smear

ผลบวก

17 (16.7)

14 (6)

31 (9.2)

ผลลบ

85 (83.3)

221 (94)

306 (90.8)

รวม

102 (30.3)

235 (69.7)

337 (100)

การย้อมสี Trichrome

ผลบวก

41 (40.2)

46 (19.6)

87 (25.8)

ผลลบ

61 (59.8)

189 (80.4)

250 (74.2)

รวม

102 (30.3)

235 (69.7)

337 (100)

 

การตรวจพบเชื้อ B. hominis ด้วยวิธี simple smear ส่วนใหญ่เป็น vacuolar, granular และ multivacuolar form ซึ่งสามารถพบได้เช่นเดียวกันจากการตรวจด้วยสี trichrome หลังจากเพาะเชื้อที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เชื้อ B. hominis ส่วนใหญ่จะพบเป็น vacuolar form และพบว่าเชื้อที่พบหลังจากการเพาะเชื้อในหลอดทดลองจะมีขนาดใหญ่กว่าและจำนวนมากกว่าที่พบจาก simple smear และการย้อมด้วยสี trichrome รูปที่ 1 แสดงเชื้อ B. hominis ระยะ vacuolar form ที่ย้อมด้วยสี trichrome ในขณะที่รูปที่ 2 เป็นเชื้อ B. hominis ที่พบหลังจากการเพาะเชื้อใน Jone’s medium เป็นเวลา 48-72 ชั่วโมง ความชุกของ B. hominis จากผลการเพาะเชื้อในหลอดทดลองในกลุ่มประชากรที่ทำการศึกษาในครั้งนี้คือร้อยละ 30.3 เมื่อใช้การเพาะเชื้อในหลอดทดลองเป็น gold standard จะพบว่าทั้ง simple smear และการย้อมด้วยสี trichrome นั้นมีความไวในการตรวจพบเชื้อต่ำคือร้อยละ 16.7 และ 40.2 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามเมื่อการเพาะเชื้อในหลอดทดลองให้ผลเป็นลบนั้น พบว่า simple smear และการย้อมด้วยสี trichrome ให้ผลบวกน้อยมาก จึงทำให้ค่าความจำเพาะของการตรวจด้วยวิธี simple smear และการย้อมด้วยสี trichrome มีค่าเป็นร้อยละ 94 และ 80.4 ตามลำดับ ค่าความจำเพาะของ simple smear มีค่ามากกว่าจากการย้อมด้วยสี trichrome อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.001) ค่า positive predictive value ของ simple smears (ร้อยละ 54.8) และของการย้อมด้วยสี trichrome (ร้อยละ 47.1) มีค่าต่ำกว่า negative predictive value จากผลการตรวจวิธีเดียวกัน (ร้อยละ 69.7 และ 80.4 ตามลำดับ)

 

รูปที่ 1 ลักษณะของเชื้อ B. hominis จากการย้อมด้วยสี trichrome

 

รูปที่ 2 เชื้อ B. hominis ที่ตรวจพบหลังจากการเพาะเชื้อใน Jone’s medium หลังจาก 48-72 ชั่วโมง

 

เมื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วย Mc Nemar test พบว่าความแตกต่างของการตรวจด้วยวิธี simple smear และการย้อมด้วยสี trichrome เมื่อเทียบกับการเพาะเชื้อในหลอดทดลองมีนัยสำคัญทางสถิติน้อยกว่า 0.0001 และเท่ากับ 0.176 ตามลำดับ แสดงว่าการย้อมด้วยสี trichrome ได้ผลการตรวจเป็นบวกในอัตราส่วนที่ใกล้เคียงกับการเพาะเชื้อในหลอดทดลอง แต่การทำ simple smear ผลที่ได้มีความสามารถในผลการตรวจเป็นบวกแตกต่างจากการเพาะเชื้อในหลอดทดลองอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นการย้อมด้วยสี trichrome จึงมีความน่าเชื่อถือมากกว่า simple smear เมื่อนำข้อมูลที่ได้มาทำ Receiver Operating Characteristic (ROC) curve จะได้กราฟดังรูปที่ 3

 

รูปที่ 3 Receiver Operating Characteristic (ROC) curve ของการตรวจพบเชื้อ B. hominis ด้วยวิธี simple smear และการย้อมด้วยสี trichrome เมื่อเทียบกับการเพาะเชื้อในหลอดทดลอง

 

จาก ROC curve ค่าพื้นที่ใต้กราฟของการตรวจหาเชื้อ B. hominis ด้วยวิธี simple smear และการย้อมด้วยสี trichrome คือ 0.554 และ 0.603 ตามลำดับ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการย้อมด้วยสี trichrome มีประสิทธิภาพในการตรวจหา B. hominis ในอุจจาระได้ดีกว่า simple smear

 

Back Next

 

ปรับปรุงครั้งล่าสุด 15/06/2010

FollowHisSteps.com

ได้รับการสนับสนุน Web Hosting จาก SPAComputer.com, ThaWang.com