วิจารณ์
 

บทคัดย่อ
Abstract
บทนำ
วัสดุและวิธีการ
ผลการศึกษา
วิจารณ์
กิตติกรรมประกาศ
เอกสารอ้างอิง

Table of Contents

hit counter

My Web Stats Until Dec 2008

ถึงแม้ว่าการตรวจหาเชื้อ B. hominis ด้วยวิธี simple smear จะสะดวกและประหยัด แต่มักจะให้ค่าผลลบเทียมได้สูง ปัญหาที่สำคัญของวิธี simple smear คือ ถ้ามีเชื้อปริมาณน้อยในอุจจาระจะทำให้ตรวจหาเชื้อ B. hominis ไม่พบได้ นอกจากนี้การวินิจฉัยเชื้อ B. hominis นั้นทำได้ยาก เนื่องจากเชื้อมีหลายรูปแบบและขนาดแตกต่างกันได้มาก ในอุจจาระเชื้อ B. hominis มีขนาดแตกต่างกันมากสามารถพบได้ตั้งแต่ 2 ถึง 200 ไมครอน ซึ่งขนาดเล็กมากๆ สามารถพบได้จากอุจจาระสด นอกจากนั้นยังมีปัจจัยหลายประการที่ทำให้เชื้อมีรูปร่างเปลี่ยนไป ซึ่งจะทำให้ความไวของการตรวจพบเชื้อลดลง เช่น ระยะเวลาในการเก็บอุจจาระ และความเข้มข้นออสโมล่าของตัวทำเจือจาง เป็นต้น7

จากการศึกษาครั้งนี้พบว่าการตรวจด้วยวิธี simple smear นั้น แม้ว่าจะมีค่าความไวที่ต่ำ แต่พบว่าค่าความจำเพาะต่อเชื้อนั้นสูงมาก ทั้งนี้เนื่องมาจากการวินิจฉัยว่าเป็นเชื้อ B. hominis โดยวิธีนี้มักจะเป็นการตรวจหาระยะที่มีลักษณะจำเพาะ ได้แก่ vacuolar form จึงทำให้ค่าผลบวกเทียมของการตรวจด้วยวิธี simple smear นั้นมีค่าต่ำมาก

การตรวจด้วยวิธีการย้อมด้วยสี trichrome พบว่ามีค่าความไวสูงกว่าวิธี simple smear ทั้งนี้เนื่องมาจากการย้อมด้วยสี trichrome ทำให้สามารถเห็นเชื้อได้ชัดเจนยิ่งขึ้น สามารถพบเชื้อได้หลายรูปแบบ แต่พบว่าค่าความจำเพาะต่อเชื้อ B. hominis ต่ำกว่าวิธี simple smear ทั้งนี้เนื่องมาจากเชื้อ B. hominis นั้นมีรูปแบบและขนาดแตกต่างกันได้มาก จึงทำให้การวินิจฉัยเชื้อนั้นทำได้ยาก อาจจะวินิจฉัยเชื้อชนิดอื่นหรือส่วนประกอบของอุจจาระเป็นเชื้อ B. hominis ทำให้ค่าผลบวกเทียมนั้นมีสูงกว่า simple smear

ประโยชน์ของการเพาะเชื้อในหลอดทดลองเพื่อตรวจหา B. hominis ในอุจจาระยังไม่เป็นที่แน่ชัด Zierdt (1991) พบว่าการเพาะเชื้อในหลอดทดลองจะให้ผลบวกก็ต่อเมื่อในตัวอย่างอุจจาระนั้นมีปริมาณเชื้อ B. hominis เป็นจำนวนมาก6 แต่จากการศึกษาของเสาวนีย์ ลีละยูวะ และคณะ (2002) พบว่าการเพาะเชื้อในหลอดทดลองสามารถเพิ่มความสามารถในการตรวจพบเชื้อ B. hominis ได้ดี25 ความแตกต่างของผลการตรวจพบเชื้อ B. hominis โดยการเพาะเชื้อในแต่ละการศึกษาอาจเนื่องมาจากวิธีที่ใช้ในการเพาะเชื้อที่แตกต่างกัน29 ซึ่งในการศึกษาของเสาวนีย์ ลีละยูวะ และคณะนั้นใช้ Jone’s medium พบว่าสามารถเพิ่มทั้งจำนวนและขนาดของ B. hominis ได้25

ถึงแม้ว่าการย้อมด้วยสี trichrome จะมีความไวมากกว่า simple smear แต่ค่าความไวก็มีเพียงแค่ร้อยละ 40.2 เท่านั้นเมื่อเทียบกับการเพาะเชื้อในหลอดทดลอง ดังนั้นการตรวจหาเชื้อ B. hominis โดยวิธีการเพาะเชื้อในหลอดทดลองน่าจะเป็นประโยชน์ โดยเฉพาะในการศึกษาวิจัยที่ต้องการทราบถึงระบาดวิทยาที่แท้จริงของการติดเชื้อนี้ อย่างไรก็ตามการเพาะเชื้อในหลอดทดลอง ใช้เวลา 48–72 ชั่วโมงก่อนที่จะนำมาตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ ซึ่งใช้เวลานานเมื่อเทียบกับการย้อมด้วยสี trichrome ที่ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง นอกจากนี้ผู้ตรวจจะไม่ทราบข้อมูลของจำนวนและรูปร่างของเชื้อ B. hominis ที่ออกมากับอุจจาระสด ซึ่งข้อมูลเหล่านี้อาจมีความจำเป็นในการศึกษาพยาธิกำเนิดและอาการวิทยา เนื่องจากเชื้อที่อยู่ในอุจจาระผ่านการเพาะเชื้อจะทำให้มีการเพิ่มจำนวนและเปลี่ยนแปลงรูปร่างไป ดังนั้นในกรณีที่จะทำการศึกษาในรูปแบบข้างต้นการตรวจอุจจาระด้วยสี trichrome ก่อนการเพาะเชื้อในหลอดทดลองจะเป็นการช่วยให้มีข้อมูลที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

 

Back Next

 

ปรับปรุงครั้งล่าสุด 15/06/2010

FollowHisSteps.com

ได้รับการสนับสนุน Web Hosting จาก SPAComputer.com, ThaWang.com