General Anesthesia
 

Pre-operative

  

History

Case ผู้ป่วยหญิงไทยคู่  อายุ 28 ปี  เชื้อชาติไทย  สัญชาติไทย  ภูมิลำเนา กรุงเทพมหานคร  อาชีพรับราชการทหาร  ประวัติได้จากเวชระเบียน และ ผู้ป่วย  เชื่อถือได้มาก

 

Chief Complaint

แพทย์นัดมาผ่าตัด

 

Present Illness

ผู้ป่วย G3 P0030  ได้เคยตั้งครรภ์ 3 ครั้ง  แท้งทั้ง 3 ครั้งในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์  แพทย์ที่โรงพยาบาลนานได้วินิจฉัยว่าเป็น Habitual abortion  ได้พยายามค้นหาสาเหตุ  พบว่า CBC, TFT, BUN, Cr, FBS มีค่าปกติ  ตรวจ Chromosome Study ของผู้ป่วยและสามี  พบว่าเป็น 46 xx และ 46 xy ตามลำดับ  ส่วน Hysterosalpingography พบว่ามี abnormail finding of uterine cavity  cannot rule out bicornated uterus.  แพทย์จึงนัดมาผ่าตัดแก้ไข

 

Past History

เคยเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร  ได้รับการรักษาโดยยา  ปัจจุบันหายจากโรคแล้ว  ไม่ได้กินยาแล้ว

ปฏิเสธการผ่าตัดอื่น ๆ ในอดีต, ไม่เคยได้รับอุบัติเหตุร้ายแรง

ปฎิเสธประวัติโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน  ความดันโลหิตสูง

ปฏิเสธการใช้ยาใด ๆ เป็นประจำ

ไม่มีประวัติแพ้ยา  แพ้อาหาร

สุขภาพโดยทั่วไปแข็งแรงดี  ออกกำลังกายโดยการเต้นแอโรบิก นาน ๆ ครั้ง

ขับถ่ายได้ตามปกติ  น้ำหนักตัวปกติดี  ไม่มีน้ำหนักลด

 

Family History

ไม่มีประวัติโรคติดต่อทางกรรมพันธุ์ในครอบครัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง

ไม่มีบุคคลในครอบครัวเคยแพ้ยาสลบ หรือยาชา

 

Personal History

ผู้ป่วยทราบถึงโรคที่เป็นอยู่

ผู้ป่วยสามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้เป็นปกติ

ไม่ดื่มเหล้า ไม่สูบบุหรี่  ไม่ใช้สารเสพติดใด ๆ

 

Review of Systems

ระบบหัวใจและหลอดเลือด

ไม่มีความดันโลหิตสูง  ไม่มีโรคหัวใจ  ไม่มีอาการเจ็บหน้าอก  ไม่มีโรคทางหลอดเลือด

ระบบทางเดินหายใจ

ไม่มีอาการนอนกรน  หรือหายใจลำบาก  ไม่เป็นหวัด  ไม่ไอ  ไม่มีเสมหะมาก  ไม่มีประวัติโรคปอดอักเสบ  ไม่เป็นโรคหืด

ระบบไตและทางเดินปัสสาวะ

ไม่มีอาการบวม  ปัสสาวะสีเป็นปกติ  ไม่มีปัสสาวลำบากหรือปัสสาวะแสบขัด

ระบบตับ

ไม่เป็นโรคตับอักเสบ  ไม่มีภาวะตับแข็ง  ตัวไม่เหลือง

ระบบต่อมไร้ท่อ

ไม่เป็นโรคเบาหวาน  ไม่มีอาการของโรคต่อทธัยรอยด์ เช่น คอโต ตาโปน ใจสั่น

ระบบทางเดินอาหาร

เคยเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร  ไม่มีอาการท้องอืด คลื่นไส้ หรืออาเจียน

ระบบประสาท

ไม่มีอาการชา หรือกล้ามเนื้ออ่นแรง  ไม่มีอาการของระบบประสาทส่วนปลายอักเสบ หรือถูกกดทับ

ภาวะการติดเชื้อ

ไม่มีไข้  ไม่หนาวสั่น

ประวัติทางสูตินรีเวช

ตั้งครรภ์ 3 หน  แท้งทั้ง 3 ครั้ง  จากการตรวจค้น พบว่ามดลูกมีความผิดปกติ

 

 

Physical Examination

Vital Signs

BodyTemperature   36   OC

Pulse Rate              68  /min

Respiratory Rate      20  /min

Blood Pressure   102/57 mmHg

Height                  155   cm

Weight                   48  kg

General Appearance

การหายใจปกติ  ไม่ลึก  ไม่หอบเหนื่อย  การเคลื่อนไหวของทรวงอกสัมพันธ์กับช่องท้อง  ไม่ใช้ accessory muscle ช่วยหายใจ  ไม่ซีด  ไม่เหลือง  normal skin perfusion

Head and Neck

ลักษณะใบหน้าเป็นปกติ  Mallampati Class 1, thyromental distance 3 นิ้วมือ  คอสามารถเคลื่อนไหวได้ปกติ  คออยู่ตรงกลาง  ไม่มีก้อนที่คอ  มี carotid bruits  หายใจทางจมูกได้ปกติ

Chest

normal S1 + S2, no murmur

Lung

normal breath sound, no wheezing, no rhonchi

Abdomen

no distension, no mass, no ascites

Extremities

no muscle atrophy, no weakness, no clubbing, no cyanosis, no infection

Back

No abnormal skin lesion, no bruise, no scar, no sign of infection

Neuropsychiatrics

กังวลเล็กน้อย  กลัวการผ่าตัด  อยากมีลูกมาก

 

NPO

            ผู้ป่วยไม่ได้รับประทานอาหารมาตั้งแต่เที่ยงคืน วันก่อนวันผ่าตัด  เริ่มผ่าตัดเวลา 09.15 น.  ดังนั้น  NPO Time  เท่ากับ 9 ชั่วโมง 15 นาที

 

Lab Investigation

Complete Blood Count

เพื่อเป็นการ Screen เบื้องต้น  ว่ามีภาวะ anemia, leukocytosis, thrombocytopenia หรือไม่

ผล              Hb  12.2 g% ,  Hct  36.3 %  Platelets  219,000  /ml

                  WBC  4,400  /ml  (PMN 51 %, Lymphocyte 45 %, Eosinophil 3 %,  Basophil 0 % )

                  MCV  93.9 fL,  MCH 33.0 pg,  MCHC 35.1 g/dL

แปลผล       ผู้ป่วยไม่มีภาวะซี  มี platelet มากเพียงพอ (>50,000 /mL)  ไม่มี leukocytosis

Urinary Examination

ดูว่ามีภาวะการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะหรือไม่  มีน้ำตาลในปัสสาวะหรือไม่  หรือดูความผิดปกติของการทำงานของไต

ผล           sp.gr. 1025,  pH 6.5,  RBC 1-2 /HPF, WBC 0-1 /HPF,  Yellow and Clear, Albumin - trace

แปลผล     มีความผิดปกติเล็กน้อย  แต่คิดว่าไม่สำคัญ  สามารถรับการผ่าตัดได้

Fasting Blood Sugar

เนื่องจากผู้ป่วยอายุมาก  จึงควรทำเพื่อตรวจดูว่ามีภาวะเบาหวานหรือไม่

ผล             95 mg/dL

แปลผล     ผู้ป่วยไม่มีภาวะเบาหวาน

Liver Function Test, BUN, Creatinine

เพื่อดูหน้าที่การทำงานของตับ และไต ว่ามีความผิดปกติหรือไม่

ผล          SGOT  21  U/L,  ALP  91  U/L

              Total bilirubin 0.38 mg/dL,  Direct bilirubin 0.09 mg/dL

               BUN  12.6  mg/dL

              Creatinine  0.75  mg/dL

แปลผล     การทำงานของตับ และไต อยู่ในเกณฑ์ปกติ

Coagulogram

เพื่อดูว่ามีความผิดปกติในการแข็งตัวของเลือดหรือไม่

ผล              BT  3 seconds,  VCT  12 min

แปล           ค่าการแข็งตัวของเลือด อยู่ในเกณฑ์ปกติ

IVP

ผล             ปกติ

Chest X-Ray

ควรทำเช่นเดียวกัน  เพื่อหาความผิดปกติของปอด

ผล             ปกติ

Ultrasonography

ทำเพื่อหาพยาธิสภาพของอวัยวะในช่องเชิงกราน

ผล              พบ bicornate uterus

 

Diagnosis

Primary infertile

 

Operation

Diagnostic Laparoscopy with Hysteroscopy of Uterine Septum

 

 

Operative Period

 

Choice of Anesthesia

เพื่อช่วยผู้ป่วยในการระงับความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นจากการผ่าตัด  ช่วยลดความกังวล  ระงับความรู้สึกของผู้ป่วยในระหว่างผ่าตัด เพื่อลด stress response to surgery  ดูแลประคับประคองให้การทำงานระบบต่าง ๆ ของผู้ป่วยใกล้เคียงปกติมากที่สุด  และช่วยให้การผ่าตัดเป็นไปอย่างราบรื่น  ในผู้ป่วยรายนี้  จึงเลือกที่จะทำโดยใช้วิธีการ General Anesthesia

การผ่าตัดในผู้ป่วยรายนี้  เป็นการผ่าตัดโดยใช้ Laparoscopy ร่วมด้วย  ซึ่งในการทำ  จำเป็นต้องใส่ Gas คาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปในช่องท้อง  ทำให้ก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์บางส่วนถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด  ร่วมกับแรงดัน ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถหายใจได้อย่างสะดวก  อาจทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาจาก hypercarbia และ hypoxia ได้ง่าย  จึงจำเป็นต้องใช้วิธ๊ General Anesthesia เพื่อที่จะสามารถช่วยควบคุมการหายใจของผู้ป่วยได้อย่างดี

ข้อดีของ General Anesthesia  เมื่อเทียบกับ Regional Anesthesia  ได้แก่  สามารถควบคุมการหายใจได้ดีกว่า  ใช้ในการผ่าตัดได้ทุกชนิด  ไม่จำกัดเวลาของการผ่าตัด  ใช้ได้กับผู้ป่วยทุกราย

 

Anesthetic Procedure

Preparation

ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ

ป้องกันสำลักอาหารเข้าปอด  ในผู้ป่วยรายนี้ได้ให้เป็น NG tube

ลดความกังวลในกลุ่ม sedatives หรือ barbiturates  ผู้ป่วยรายนี้ได้เป็น Midazolam

Induction

Prooxygenation  ให้ออกซิเจน 100% ผ่าน mask

Precurarization  ในผู้ป่วยรายนี้ใช้เป็น Xylocaine

Intubation Agent ที่ใช้ในผู้ป่วยรายนี้  ได้แก่  Pancuronium  ซึ่งนิยมใช้กันแพร่หลาย  มี potency สูง  และไม่ทำให้ความดันเลือดลดลง  ร่วมกับมีระยะเวลาในการออกฤทธิ์นาน

Induction Agent  ได้แก่  Propofol 1-3 mg/kg ซึ่งนิยมใช้นำสลบสำหรับการผ่าตัดทั่วไป  เพราะนำสลบได้ราบรื่น  ผู้ป่วยฟื้นจากยาสลบเร็วและดี  ไม่มี psychological impairment  ผู้ป่วยไม่มีข้อห้ามใช้  ได้แก่  ไม่เป็นโรคหัวใจ ไม่มีภาวะช็อค และไม่มีภาวะทางเดินหายใจอุดตันที่แก้ไขไม่ได้

 

Maintenance

ในผู้ป่วยรายนี้  ได้รับเป็น Inhalation agent คือ Nitrous Oxide + Oxygen (ratio = 2:1)  ซึ่งใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน แม้ว่าค่า MAC ต่ำ  เนื่องจากไม่มีกลิ่ม  ไม่ระคายเคืองต่อทางเดินหายใจ  มีผลกระทบต่อระบบไหลเวียนโลหิตและระบบหายใจไม่มาก  ไม่พบอาการคลื่นไส้อาเจียนมากนัก และ ราคาถูก

ยาระงับความปวดที่ใช้ในผู้ป่วยรายนี้ได้แก่ Fentanyl  ซึ่งใช้เป็น Supplement anesthetic agent  เพื่อระงับความรู้สึกวิธี balanced anesthesia  เป็นการลดการตอบสนองของระบบซิมพาเธติกซ์ต่อการผ่าตัด

สารน้ำที่ผู้ป่วยได้รับ  เป็น 5% DN/2  ต่อมาเปลี่ยนเป็น Acetar  ซึ่งเป็น Balanced salt solution แทน

สิ่งที่ต้อง monitor ในผู้ป่วยรายนี้  ได้แก่   ความดันโลหิต  ชีพจร  อัตราการไหลของปัสสาวะ  oxygen saturation

ในผู้ป่วยรายนี้  พบว่า  Blood pressure และ pulse  คงที่ตลอด  ไม่มีภาวะความดันโลหิตสูงหรือต่ำ  EKG เป็นปกติ  สม่ำเสมอ  ไม่พบ sign ของการขาดน้ำ  ไม่มีภาวะปากแห้ง  ผิวแห้ง  pulse pressure แคบ หรือ tachycardia  ไม่พบภาวะ abdominal respiration หรือ apnea, oxygen saturation ได้  99-100 % ตลอดเวลา

เมื่อใกล้จะเสร็จ  ได้มีการตรวจ Electrolyte และ Blood Sugar  ผลออกมาพบว่า Sodium อยู่ในเกณฑ์ปกติ  น้ำตาลในเลือดสูงเล็กน้อย

 

End of Anesthesia

ผู้ป่วยรายนี้ได้รับยา  Neostigmine 2.5 mg ให้เพื่อแก้ฤทธิ์ยาหย่อนกล้ามเนื้อ  ช่วยในการทำงานของ neuromuscular ให้กลับเป็นปกติได้เร็วขึ้นโดยให้เป็น anticholinesteras  ช่วยให้ acetylcholine มีปริมาณและระยะเวลาที่มีโอกาสจับกับ receptor เพิ่มมากขึ้น  สามารถ depolarize ได้ง่ายขึ้น  ร่วมกับเพิ่มการหลั่งของ acetylcholine และ กระตุ้น postsynaptic receptor ได้ด้วย และ ให้ Atropine ร่วมด้วย 1.2 mg เพื่อลดผลของ acetylcholine ที่มีต่อ muscarinic receptor  ซึ่งอาจทำให้มีอาการหัวใจเต้นช้า  มีการหลั่งน้ำลายและ secretion ของหลอดลมเพิ่มขึ้น  กล้ามเนื้อเรียบของหลอดลมและลำไส้หดตัวมากขึ้น

ต่อมา  พบว่าผู้ป่วยสามารถที่จะถอดเครื่องช่วยหายใจออกได้  เนื่องจากผู้ป่วยตื่น  รู้ตัวดี พอที่จะทำตามคำสั่งหรือช่วยตัวเองได้  มี vital signs ปกติ ทั้งความดันเลือด ชีพจร การหายใจ อุณหภูมิ จำนวนปัสสาะ  ผู้ป่วยสามารถไอได้  มีอัตราหายใจน้อยกว่า 20 ครั้งต่อนาที

 

 

Post-Operative Period

 

Management in Recovery Room

ต้องทำการเฝ้าติดตาม  ดูว่ามีผลแทรกซ้อนจากการผ่าตัดหรือไม่  ดู vital sign  ว่าปกติหรือไม่  เพื่อเฝ้าระวังภาวะ hypovolemia จากการเสียเลือด   คลำ pulse ว่า full ดีหรือไม่  ดูการหายใจ  ให้ความอบอุ่นแก่ผู้ป่วย  ดูว่ามีคลื่นไส้อาเจียนหรือไม่  ปัสสาวะออกได้เป็นปกติหรือไม่ 

ที่ห้อง Recovery Room  จำเป็นต้องมีการให้ออกซิเจน 100 % โดย face mask  เพื่อป้องกันภาวะ diffusion hypoxia ที่จะเกิดขึ้นได้  ซึ่งพบว่าผู้ป่วยสามารถหายใจได้ดี  ให้สารน้ำต่อ  และให้ thermoregulation

 

Recovery Score

Color (oxygen saturation)  ของผู้ป่วยปกติ (แดง)  conscious เมื่อแรกรับยังคงหลับ แต่ปลุกตื่นได้  แต่ต่อมาอีก 15 นาที พบว่าผู้ป่วยมี conscious ดี (ตื่นดี)  Blood pressure ปกติ  ไม่เปลี่ยนแปลง  หายใจเองได้ลึก + ไอได้  เคลื่อนไหวได้เป็นปกติ

ดังนั้น  ในผู้ป่วยรายนี้  มี recovery score = 9 เมื่อแรกรับ  และ  10  ทั้งเมื่อ  15 นาที  30 นาที  และเมื่อ discharge

 

Pain Management

การดูแลเรื่องการเจ็บปวด  ได้ให้เป็น Dynastat 4 mg IV

นอกจากนี้  ผู้ป่วยยังได้ยาอื่น ๆ ร่วมด้วย  ได้แก่ Ondansetron  ซึ่งเป็น serotonin subtype–3  receptor antagonist  เพื่อช่วยในการป้องกันและรักษาอาการคลื่นไส้อาเจียนในช่วง perioperative  และได้ยา prophylactic antibiotic เป็น Ampicillin ร่วมด้วย

 

 

Post-Operative Visit

 

Visit (Post-op Day 1)

ผู้ป่วยรู้สึกตัวดี  ไม่คลื่นไส้  ไม่อาเจียน  ปัสสาวะออกได้  ยังคงเจ็บคอเล็กน้อย  เจ็บไม่มาก  หายใจได้ปกติดี  ไม่มีหอบเหนื่อยหรือหายใจลำบาก  เจ็บแผลเล็กน้อยเมื่อยาแก้ปวดหมดฤทธิ์

Vital Sign  stable ดี  BP เป็นปกติ  ไม่พบ sensory หรือ motor deficit  ไม่มีไข้หลังการผ่าตัด  ไม่มีเลือดออกมากผิดปกติที่บริเวณแผล  ฟังปอด ปกติดี

 

Awareness

ผู้ป่วยไม่รู้เรื่องขณะผ่าตัด

 

Complication

ไม่พบ complication จากการผ่าตัด หรือ จากการระงับความรู้สึกทั่วไป

 

Satisfaction of the Patient

ผู้ป่วยพอใจมาก

 

โดย ธีรยสถ์ นิมมานนท์

ปรับปรุงครั้งล่าสุด 15/06/2010

FollowHisSteps.com

ได้รับการสนับสนุน Web Hosting จาก SPAComputer.com, ThaWang.com