ปวดข้อสะโพก
 

ข้อสะโพก เป็นข้อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย  ประกอบด้วย  กระดูกต้นขา และเบ้า

 

อาการปวดสะโพก

อาการปวดสะโพก  หมายถึง  อาการที่เกิดขึ้นที่ด้านหลังของขา  มีจุดเริ่มต้นที่สะโพกหรือบั้นท้าย  ลงสู่ต้นขาด้านหลัง  และสู่ด้านข้างของขาทั้งสองข้าง

 

สาเหตุของการปวดข้อสะโพก

1. ผู้สูงอายุจะมีการเสื่อมของข้อสะโพก

2. ผู้ที่มีภาวะของหัวกระดูกต้นขาตายจากการขาดเลือดมาหล่อเลี้ยง

3. ผู้ที่มีการหักของข้อสะโพก

4. ผู้ที่มีเนื้องอกบริเวณข้อสะโพก

5. ผู้ที่มีความพิการของข้อสะโพก หรือมีข้อสะโพกเคลื่อนหลุดมาแต่กำเนิด  ทำให้มีการเสื่อมตามมา

6. ผู้ที่มีข้อติดแข็ง

 

อาการ

- ปวดบริเวณข้อสะโพก

- เคลื่อนไหวได้น้อยลง

- การทรงตัวไม่ดีขณะเดิน

- ไม่สามารถเหยียดหรือกางข้อสะโพกได้เป็นปกติ

 

การรักษา

- การรักษาตามอาการ เช่น  ยาบรรเทาอาการปวดขา  การอักเสบ

- การออกกำลังกายบริเวณข้อสะโพก

- การผ่าตัดยึดด้วยเหล็ก หรือเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม

 

การบริหารข้อสะโพก

ท่าที่ 1  หมุนเอว

ยืนกางขาออก  มือเท้าสะเอว  แล้วค่อย ๆ หมุนเอวในลักษณะเป็นวงกลมไปด้านหน้าหลาย ๆ ครั้ง  และสลับกับด้านหลัง

ท่าที่ 2  นอนตะแคงยกขา

นอนตะแคงซ้าย  ยกขาด้านบนขึ้นทำมุม 45 องศา  ค้างไว้นาน 5 วินาที  ทำติดต่อกัน 5 ครั้ง  แล้วเปลี่ยนเป็นนอนตะแคงขวา  ทำลักษณะเดียวกัน

ท่าที่ 3  ยกก้น

นอนหงาย  ตั้งเข่าขึ้น  เกร็งกล้ามเนื้อ  แล้วยกก้นค้างไว้ 5 วินาที  แล้ววางก้นลง  ทำประมาณ 10-15 ครั้ง

 

ข้อห้ามในการผ่าตัดเปลี่ยนสะโพกเทียม

จะไม่ทำในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ  ปอด  ไต หรือร่างกายอยู่ในภาวะที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ

จะไม่ทำในผู้ที่อายุน้อย  อยู่ในวัยหนุ่มสาว  เพราะร่างกายยังต้องการเคลื่อนไหวมาก  ควรรอการผ่าตัดออกไปให้นานที่สุด

คนอ้วน  น้ำหนักตัวมาก ๆ  ควรลดน้ำหนักก่อนทำการผ่าตัดใส่ข้อสะโพกเทียม  เพราะจะช่วยลดแรงที่มากระทำต่อข้อสะโพก ไม่ให้มากเกินไป

 

ความรู้สู่ประชาชน

กองออร์โธปิดิกส์

รพ.พระมงกุฎเกล้า

 

ปรับปรุงครั้งล่าสุด 15/06/2010

FollowHisSteps.com

ได้รับการสนับสนุน Web Hosting จาก SPAComputer.com, ThaWang.com