สงครามนิวเคลียร์ ชีวะ เคมี
 

การสวมชุดป้องกันทาง นิวเคลียร์ ชีวะ เคมี  เพื่อใช้ในการออกทำยุทธวิธีต่าง ๆ ทาง นิวเคลียร์ ชีวะ เคมี ได้  ซึ่งการสวมชุดทาง นิวเคลียร์ ชีวะ เคมี มีหลายระดับ  แบ่งเป็น รปภ.(รภ.) 0-4  ซึ่งแต่ละระดับมีที่ใช้ต่าง ๆ กัน ตามแต่กรณี  เพื่อก่อให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติหน้าที่ รวมถึงเพื่อเหมาะสมต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี

อุปกรณ์ที่ใช้ในชุดป้องกันทาง นิวเคลียร์ ชีวะ เคมี  ประกอบด้วย  อาทิเช่น  รองเท้า  เสื้อพร้อมหมวกคลุม  หน้ากากกรองอากาศ

 

หน้ากากกรองอากาศ

ที่ใช้ในทางนิวเคลียร์ ชีวะ เคมี นั้น  มี 2 แบบด้วยกัน  ได้แก่

o แบบเปิด อากาศผ่านเข้าออกได้ สามารถใช้ได้นานกว่า  แต่ประสิทธิภาพในการกรองอากาศน้อยกว่า

o แบบปิด อากาศผ่านเข้าออกไม่ได้  หายใจโดยใช้เครื่องออกซิเจนช่วย  ซึ่งจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันอันตรายจากสารที่มีสถานะเป็นไอ ได้ดีกว่าแบบแรก  แต่ว่าจะใช้ได้เป็นระยะเวลาน้อยกว่าแบบแรก

สื้อ ไม่สามารถกันน้ำได้  แต่สามารถกันพิษที่จะได้รับจากสารเคมีได้  เนื่องจากมี ผงถ่านกัมมันต์ อยู่ คอยกรองสารพิษ

 

Meter

ที่ใช้วัดอันตรายจากอาวุธเคมี  นั้น  สามารถวัดได้ 2 แบบ  ได้แก่ 

o วัดปริมาณ  คือ ปริมาณของสารที่มีอยู่ในขณะนั้น)

o วัดอัตรา  คือ ปริมาณของสาร โดยเทียบต่อหน่วยเวลา)

 

หลักการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

ของผู้ป่วยที่ได้รับอันตรายจาก นิวเคลียร์ ชีวะ เคมี   โดยเน้นถึงยาที่ใช้ในผู้ป่วยที่ได้รับอันตรายจากอาวุธเคมีเป็นหลัก  ยาที่ใช้  ได้แก่

o ยาที่ให้ล่วงหน้า   ได้แก่  ไพริโดสติกมิน  ซึ่งเป็นสารประเภท carbamate  เพื่อให้ไปจับกับ Acetylcholinesterase  ซึ่งเป็นแบบ Competitive inhibitor     ป้องกันไม่ให้สารประเภท organophosphate ซึ่งจับกับ enzyme แบบ irreversible

o  ยาที่ใช้แก้พิษ  : Atropine      ซึ่งใช้ในการแก้พิษจาก organophosphate   โดยการทำหน้าที่เป็น parasympatholytic action   ต้านฤทธิ์ parasympathomimetic action ของ  organophosphate   โดยทหารจะได้พกติดตัวประมาณ 3 เข็ม เป็นแบบ Autoinjector  จะให้ในผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะได้รับอันตรายจาก สารประสาท (nerve agent)  อาทิเช่น  พบ pin-point pupils    วิธีการให้คือ  ให้ทีละเข็ม  แล้วรอเป็นเวลาประมาณ 5-10 นาทีเพื่อรอดูว่าได้ผลหรือไม่  ถ้าอาการไม่ดีขึ้น หรือแย่ลง  ก็ให้เข็มต่อไป  โดยหลังจากที่ฉีดแล้ว  ควรเหน็บเข็มไว้ที่ตัวผู้ป่วย  เพื่อที่ผู้ที่ทำการรักษาต่อไปจะได้ทราบว่าได้รับปริมาณเท่าใดแล้ว  ถ้าผู้ป่วยหมดสติ  ผู้ปฐมพยาบาลสามารถฉีดไปได้เลย 3 เข็ม โดยใช้ยาที่อยู่ที่ตัวของผู้ป่วยเอง    ต้องระวังผลข้างเคียงของยา  เช่น  รูม่านตาขยาย  คอแห้ง  ซึ่งถ้าพบอาจหมายถึงผู้ป่วยอาจได้รับอันตรายจากอาวุธเคมีประเภทอื่น ๆ

o ยาแก้พิษ : Oxime   มักใช้ร่วมกับ Atropine  โดยมักจะผสมอยู่กับ Atropine แล้ว   ออกฤทธิ์โดยการกระตุ้น cholinesterase enzyme ให้สามารถกลับมาทำงานได้อีกครั้งหนึ่ง   มีหลายชนิด  มีทั้งแบบฉีด ซึ่งสะดวกกว่า  และแบบกิน  ซึ่งไม่นิยม เนื่องจากอาจจะทำให้ได้รับพิษเพิ่มเติมไปอีก

o  ยาแก้พิษ : Amyl Nitrite  เป็นสารที่ใช้ในการปฐมพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับอันตรายจากสารโลหิต  ซึ่งเป็นสารประเภท cyanide (Hydrogen cyanide and cyanide chloride)  ที่ออกฤทธิ์โดยการไปจับกับ cytochrome oxidase  ทำให้เกิด cytotoxic anoxia   แก้ฤทธิ์โดยการเปลี่ยน hemoglobin ให้กลายเป็น methemoglobin  ส่งผลทำให้สามารถขับ cyanide ออกจากร่างกายได้  โดยมักจะให้ทันทีเมื่อมีอาการ  เช่น  รู้สึกอบอุ่นทั่วร่างกาย  หมดแรง  คลื่นไส้อาเจียน  ปวดหัว  มึนงง  ชัก  หมดสติ      โดยให้สูดดม 2 หลอด  แล้วรอดูอาการ 5 นาที   ใช้ได้รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 8 หลอด

 

สรุปโดย Thirayost Nimmanon

ปรับปรุงครั้งล่าสุด 15/06/2010

FollowHisSteps.com

ได้รับการสนับสนุน Web Hosting จาก SPAComputer.com, ThaWang.com