Acute Otitis Media
 

Anatomy and Physiology
Introduction to Otitis Media
Acute Otitis Media
Chronic Otitis Media
Complications of Otitis Media
Cholesteatoma
Reference

Table of Contents

hit counter

My Web Stats Until Dec 2008

การอักเสบเฉียบพลันชองหูชั้นกลาง   หมายถึง  ภาวะที่มีการอักเสบเป็นเวลาไม่เกิน 3 สัปดาห์  มีแก้วหูทะลุหรือไม่มีก็ได้  แล้วแต่ระยะของโรค

พบภาวะนี้หลังมีการอักเสบของทางเดินหายใจส่วนบนได้บ่อย  โดยเฉพาะในเด็ก  เกิดจาก pyogenic bacterial infection  ของเยื่อบุของหูชั้นกลาง  เชื้อที่พบบ่อย  เช่น  S. pneumoniae  โดยเด็กมี immature immune response  มีการติดเชื้อของ upper respiratory tract บ่อย  และ มี funtional incompetence ของ eustachian tube  โดยที่ eustachian tube ในเด็กจะสั้นกว่า  กว้างกว่า  และ  horizontal กว่าในผู้ใหญ่

 

ลักษณะทางคลินิก

ก. อาการ

ผู้ป่วยมักจะมีไข้  ปวดหู  หูอื้อ  เด็กมักใช้นิ้วแหย่รูหู  ไม่ยอมให้ผู้อื่นจับหรือดูหู  ร้องไห้งอแง  อาจบ่นเวียนศีรษะ  คลื่นไส้  อาเจียน  เบื่ออาหาร  เมื่อมีหนองไหลจากช่องหูแล้วอาการปวดมักจะลดลง

อาการปวดหูและ hearing loss  จะเป็น cardinal symptoms

ข. อาการแสดง

เมื่อจับหรือแตะต้องบริเวณใบหูหรือรูหูมักจะไม่มีอาการเจ็บปวด  ตรวจพบแก้วหู  มีการอักเสบ  แดง  หลอดเลือดของแก้วหูเพิ่มมากขึ้น  แก้วหูมักจะโป่งนูนออกมา  เมื่อตรวจด้วย pneumatic otoscope เห็นการขยับตัวของแก้วหูลดลง  อาจมีของเหลวเป็นหนองหรือเลือดออกมาอยู่ที่ช่องหูชั้นนอก

 

จุลชีววิทยา

  1. จุลชีพต้นเหตุของหูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน  คือ  แบคทีเรีย

  2. เด็กอายุต่ำกว่า 6 ขวบ  พบว่าส่วนใหญ่เกิดจาก Hemophilus influenzae และ Moraxella catarrhalis

  3. เด็กโตและผู้ใหญ่  มักเกิดจาก Streptococcus pneumoniae

  4. เด็กเล็กมาก  เด็กเกิดใหม่  และผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานปกติ  อาจเปิดจากเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ

 

พยาธิกำเนิด

เป็นผลมาจาก previous or concurrent viral upper respiratory infection

1. Stage of eustachian tube obstruction

จะมีอาการหูอื้อ  มี retraction ของ ear drum

2. Stage of redness

มีอาการปวดหู  และ hearing loss เพิ่มมากข้น  ร่วมกับมีอาการของ systemic infection  เช่น  ไข้  อ่อนเพลีย  คลื่นไส้  อาเจียน  ปวดท้อง    ที่ ear drum  จะพบ marked erythema and bulging ของ Pars flaccida

3. Stage of suppuration

จะมีอาการ severe local pain, outward bulging of ear drum   จากการที่มีหนองคั่งในหูช้นกลาง  จึงไป stretch ear drum และ sensory nerve ของเยื่อแก้วหู  ต่อมาจะมี herniation ของเยื่อแก้วหู  เกิด local ischemic necrosis ของเยื่อแก้วหู  และรูทุลุของเยื่อแก้วหูในที่สุด  ทำให้หนองที่ขังในหูชั้นกลางไหลออกมา  ก็จะทำให้อาการปวดหูหายไปทันที

4. Stage of resolution

ระยะนี้จะมีอาการ transient purulent otorrhea  และรูทะลุจะ heal ไปได้เองภายใน 4 – 5 สัปดาห์ถัดไป

 

Histopathology

มี acute inflammatory cells infiltration in mucoperiosteum  และมีการคั่งของ purulent exudate ในหูชั้นกลาง

 

การรักษา

ก. การรักษาทางยา

1. ยาปฏิชีวนะ

ผู้ป่วยต้องได้รับยาปฏิชีวนะ  เนื่องจากสาเหตุของภาวะนี้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย  ยาที่ควรเลือกใช้  คือ  ampicillin, Augmentin, cefaclor, erythromycin, Bactrim  การรักษาด้วยยาแต่ละตัว  ให้ผลไม่แตกต่างกันมาก  ควรพิจารณาเลือกใช้ยาโดยดูจากชนิดของแบคทีเรียต้นเหตุ  ราคาของยา  และผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากยา หรือการแพ้ยา  เมื่อให้การรักษาผู้ป่วยแล้ว 48 – 72 ชั่วโมง  อาการยังไม่ดีขึ้น  ต้องพิจารณาเปลี่ยนยา  หรือเจาะแก้วหูเพื่อระบายหนองออก ( myringotomy )

2. ยาลดน้ำมูก หรือ ยาลดบวม

เมื่อผู้ป่วยมีอาการอักเสบของทางเดินหายในส่วนบน  มีอาการคัดจมูกหรือมีน้ำมูก  ควรพิจารณาให้ยานี้แก้ผู้ป่วย  เพื่อช่วยให้ eustachian tube ยุบบวมลง

3. ยาแก้ปวดหรือลดไข้

ข. การเจาะแก้วหู ( myringotomy )

ข้อบ่งชี้ในการทำ myringotomy  จะใช่ myringotomy tube หรือไม่ก็ได้  ได้แก่

  1. อาการของผู้ป่วยไม่ดีขึ้น  หลังจากได้ยาปฏิชีวนะที่ถูกต้อง 48 – 72 ชั่วโมง  เช่น  ผู้ป่วยยังมีไข้สูง  ปวดหูมาก  เด็กมีอาการไม่สบายมาก

  2. ผู้ป่วยอาการค่อนข้างรุนแรง หรือมีภาวะแทรกซ้อน  เช่น  มีอาการอัมพาตของประสาทสมองคู่ที่ 7  หรือมีภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาทส่วนกลาง

  3. ผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน  เช่น  เป็นโรคเบาหวาน  หรือได้รับยากดภูมิต้นทาน  เช่น  prednisolone หรือ cyclosporin

  4. ผู้ป่วยอายุน้อย ๆ  เช่น  เด็กแรกเกิด

การเจาะแก้วหูจะช่วยบรรเทาอาการปวดของผู้ป่วย  และยังสามารถนำหนองที่ได้ไปเพาะหาเชื้อที่เป็นต้นเหตุได้ด้วย

ค. การติดตามผลการรักษา

โดยปกติ  น้ำในหูชั้นกลางที่เกิดขึ้นจากการอักเสบเฉียบพลัน จะอยู่ไม่เกิน 12 สัปดาห์  ในเด็กโตจะหายได้เร็วกว่านี้  ควรได้ติดตามดูแลผู้ป่วยจนกว่าผู้ป่วยจะมีอาการและลักษณะแก้วหูปกติ

 

[Anatomy and Physiology] [Introduction to Otitis Media] [Acute Otitis Media] [Chronic Otitis Media] [Complications of Otitis Media] [Cholesteatoma] [Reference]

 

ปรับปรุงครั้งล่าสุด 15/06/2010

FollowHisSteps.com

ได้รับการสนับสนุน Web Hosting จาก SPAComputer.com, ThaWang.com