Management
 

History
Physical Examination
Discussion
Management

Table of Contents

hit counter

My Web Stats Until Dec 2008

Plan for investigation

1. Teleendoscopy

จะช่วยบอกรายละเอียดภายในโพรงจมูกได้ชัดเจนมากขึ้น  สามารถเป็นริดสีดวงจมูกขนาดเล็กหรือในรายเริ่มเป็นใหม่ ๆ ได้

ในรายนี้  พบว่า  มี right nasal polyp at medial and lateral of middle turbinate, left mucoid discharge and polyps at medial and lateral of middle turbinate

2. X-Ray Sinus

จะต้องทำทุกราย เพื่อดูว่ามีการอักเสบของโพรงอากาศข้างจมูกที่ตำแหน่งใดบ้าง  เป็นประโยชน์ในการวางแผนการผ่าตัดรักษาต่อไป

ไม่พบฟิล์มในผู้ป่วยรายนี้  แต่คาดว่า  น่าจะเป็น sign of sinusitis ได้ในผู้ป่วยรายนี้

3. CBC, Urinalysis

เพื่อเป็นการ screening เบื้องต้น  แต่ไม่พบผล CBC, Urinalysis ในผู้ป่วยรายนี้  คิดว่าเนื่องจากผู้ไม่ได้สงสัยภาวะความผิดปกติดังกล่าวในผู้ป่วยรายนี้  หรืออาจจะเนื่องจากผู้ป่วยได้เคยทำการตรวจแล้ว  แล้วผลเป็นปกติ

 

Plan for treatment

หลักการรักษาของโรค nasal polyp นั้น  แบ่งได้ออกเป็น 4 ข้อ  ได้แก่

1. การกำจัดริดสีดวงจมูก (polypectomy)

2. รักษาโพรงอากาศข้างจมูกที่มีการอักเสบที่เกิดร่วมกับริดสีดวงจมูก

3. รักษาโรคที่เกิดร่วมกับริดสีดวงจมูก  หรือ  ภาวะที่เป็นปัจจัยส่งเสริม หรืออาจเป็นสาเหตุของริดสีดวงจมูก

4. ป้องกันการเกิดซ้ำของริดสีดวงจมูก

1. การกำจัดริดสีดวงจมูก (Polypectomy)

Polypectomy นั้น  แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท  ได้แก่  medical polypectomy  ซึ่งใช้ในรายที่ขนาดไม่ใหญ่มาก  โดยให้ steroid   และ  surgical polypectomy  ซึ่งใช้ในรายที่ริดสีดวงจมูกมีขนาดใหญ่ หรือโตจนเต็มโพรงจมูก  ซึ่งอาจทำโดยการ snaring หรือใช้ polypus forceps

ในผู้ป่วยรายนี้ คิดว่าน่าจะมีต้นกำเนิดจากโพรงอากาศเอ็ธมอยด์  ดังนั้นจึงต้องทำ ethmoidectomy ร่วมด้วย  โดยมีวิธีการทำ  ได้แก่   intranasal ethmoidectomy, external ethmoidectomy, transantral ethmoidectomy and microscopic (tele-endoscopic) thmoidectomy

2. การรักษาโพรงอากาศอักเสบที่เกิดร่วมกับริดสีดวงจมูก

การรักษา  ก็แบ่งเป็น 2 ประเภท เช่นเดียวกัน  ได้แก่  medical and surgical treatment   ในรายที่ผ่าตัดรักษาริดสีดวงจมูก  ก็มักจะระบายโพรงอากาศที่อักเสบอยู่ร่วมกันไปด้วย  ซึ่งในผู้ป่วยรายนี้เกิดที ethmoid sinus  จึงน่าจะทำโดยวิธี FESS หรือ Functional endoscopic sinus surgery  เพื่อทำให้การระบายและการปรับอากาศของไซนัสและ middle meatus ดีขึ้น   โดยให้การรักษาด้วยยาร่วมด้วย  คือ  การให้ antibiotics  ได้แก่  amoxi-clav(625)  1 tab o tid pc

 

Pre-operative Care for FESS under GA

  • NPO after night
  • Clean and shave
  • Cross-match  จองเลือด 2 units

Operation  : FESS

  • Position          : Supine
  • Incision           : Transnasal
  • Finding           : polyp at lateral and medial of middle turbinate S/P ESS uncinate was removed
  • Procedures
    • 1% xylocaine with adrenaline was infiltrated at polyps and posterior end of middle turbinate and nasal septum bilateral
    • Polypectomy was performed with cup forceps at right nasal cavity
    • Middle turbinate was cut anterior part then anterior nasal packing was done with vaseline gauze
    • Left nasal cavity was done like right nasal cavity
    • No immediate intraoperative complication
    • EBL 250 cc

Post-operative Care

  • 5% D/N/2  100 ml   v  drip  100 cc/hr
    เนื่องจากระยะแรกผู้ป่วยยังไม่สามารถรับประทานอาหารได้  จึงจำเป็นต้องให้สารน้ำชดเชย  ร่วมกับชดเชยสารน้ำที่เสียไปในการผ่าตัด
  • observe bleeding
  • cold pack บริเวณจมูก
    เพื่อช่วยในการทำให้หลอดเลือดหดตัว  ลดการ bleeding ในระยะแรก
  • Tramol      1 amp v prn q 8 hr for severe pain
    เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวด
  • Plasil         1 amp v prn for N/V q 6 hr
    เนื่องจากผู้ป่วยได้รับการดมยา  อาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนได้
  • Regular diet
  • Record V/S as usual

 

3. รักษาโรคที่เกิดร่วมกับริดสีดวงจมูก  หรือ  ภาวะที่เป็นปัจจัยส่งเสริม หรืออาจเป็นสาเหตุของริดสีดวงจมูก

ได้แก่การคุมภาวะโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้  ได้แก่  การให้ยา  Maxiphed  1 tab o tid pc  และ  tinset  1 tab o bid pc   ส่วน steroid พ่นนั้น  ควรจะให้หลังจากผ่าตัดไปแล้วระยะหนึ่ง  รอให้แผลที่จมูกหายดีก่อน

4. การป้องกันการเกิดซ้ำของริดสีดวงจมูฏ

หลังการผ่าตัดริดสีดวงจมูกและไซนัสอักเสบแล้ว  สิ่งที่สำคัญที่สุด  คือ  การทำความสะอาดภายในโพรงจมูก และล้างโพรงอากาศ  โดยให้ผู้ป่วยใช้น้ำเกลือล้างจมูกเองทุกวัน และ พบแพทย์ เพื่อล้างโพรงอากาศสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง  ทั้งนี้เพื่อป้องกันการเกิด synechia  และช่วยให้เยื่อบุจมูกและการทำงานของ mucociliary clearance กลับคืนภาวะปกติให้เร็วที่สุด  และช่วยให้การปรับอากาศและการระบายของโพรงจมูกและโพรงอากาศเป็นปกติเร็วขึ้น

 

Plan for Patient Education

แนะนำให้ผู้ป่วยทราบถึงโรคของผู้ป่วย

แนะนำให้ผู้ป่วยทราบว่า  ผู้ป่วยเป็นโรคริดสีดวงจมูก  ซึ่งคิดว่าเกิดจากภาวะโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ของผู้ป่วยเอง  ซึ่งเป็นมาเป็นระยะเวลานาน  โดยมีภาวะโพรงอากาศข้างจมูกอักเสบร่วมด้วย  ซึ่งเนื่องจากขนาดของก้อนมีขนาดใหญ่  จึงคิดว่าควรทำการรักษาโดยการผ่าตัด

ข้อปฏิบัติตัวเมื่อผู้ป่วยกลับบ้าน

o ถ้าหน้ายังไม่ยุบบวม  ควรประคบด้วยความเย็น

o ในรายที่เสริมจมูก  ถ้าคัดจมูก  ห้ามดึงพลาสเตอร์หรือเฝือกที่ปิดจมูกออกก่อนแพทย์นัด

o ในรายที่แพทย์ให้ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ  ดมไอน้ำ และหยอดจมูกตามเวลา ให้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

o รับประทานยาตามแพทย์สั่งและมาตรวจตามนัด

o ไม่ควรอยู่ในที่ร้อนจัด  แดดจัด  เพราะจะทำให้เลือดออกมากขึ้น  พักผ่อนให้เพียงพอ  ไม่ควรยกของหนัก  นั่งยอง ๆ หรือเบ่งอุจจาระ ในช่วง 10 วันหลังผ่าตัด

o ห้ามว่ายน้ำ  ดำน้ำ  จนกว่าแพทย์อนุญาต

o หากมีอาการผิดปกติ  เช่น มีไข้  เลือดออกมาก  ควรรีบมาพบแพทย์

การป้องกันการเกิดซ้ำ

การป้องกันการเกิดริดสีดวงจมูกที่ดีที่สุด  คือ  การรักษาโรคภูมิแพ้  ซึ่ง  ที่สำคัญได้แก่  การหลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้  โดยพยายามหลีกสารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ให้มากที่สุด  ได้แก่  ห้องนอน  ควรจำกัดสิ่งที่แพ้ออกจากห้องนอนให้หมด  ให้อากาศถ่ายเทดี ๆ  อุณหภูมิให้พอเหมาะ  หมอนและที่นอนควรตากแดดบ่อย ๆ เพื่อกำจัดตัวไรฝุ่น  ไม่ควรเลี้ยงสัตว์มีขน  เป็นต้น  ถ้าเป็นไปได้ควรที่จะใส่ mask ตลอดเวลาที่ทำงาน  เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับฝุ่นละออง ร่วมกับการใช้ยาระงับอาการ และการฉีดสารภูมิแพ้เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานสารที่แพ้นั้น   รวมถึง  ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ซักถามข้อสงสัยต่าง ๆ

 

 โดย ธีรยสถ์ นิมมานนท์

 

Back

 

ปรับปรุงครั้งล่าสุด 15/06/2010

FollowHisSteps.com

ได้รับการสนับสนุน Web Hosting จาก SPAComputer.com, ThaWang.com