|
Pre-operative
HistoryCase ผู้ป่วยหญิงไทยคู่ อายุ 61 ปี เชื้อชาติไทย สัญชาติไทย ภูมิลำเนา กรุงเทพมหานคร ประวัติได้จากเวชระเบียน และ ผู้ป่วย เชื่อถือได้มาก
Chief Complaintแพทย์นัดมาผ่าตัด
Present Illness1 เดือนก่อนมาโรงพยาบาล ผู้ป่วยมาตรวจภายในประจำปี พบว่ามีกระบังลมหย่อน ก่อนหน้านี้ ไม่เคยมีอาการปัสสาวะเล็ด สามารถกลั้นปัสสาวะได้ปกติ ไม่เคยมีเลือดออกทางช่องคลอดมากผิดปกติ ประจำเดือนหมดไปแล้ว
Past Historyปฏิเสธการผ่าตัดอื่น ๆ ในอดีต ไม่เคยได้รับอุบัติเหตุร้ายแรง ปฎิเสธประวัติโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ปฏิเสธการใช้ยาใด ๆ เป็นประจำ ไม่มีประวัติแพ้ยา แพ้อาหาร สุขภาพโดยทั่วไปแข็งแรงดี ไม่ได้ออกกำลังกาย ขับถ่ายได้ตามปกติ น้ำหนักตัวปกติดี ไม่มีน้ำหนักลด
Family Historyไม่มีโรคติดต่อทางกรรมพันธุ์ในครอบครัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไม่มีบุคคลในครอบครัวเคยแพ้ยาสลบ หรือยาชา
Personal History· ผู้ป่วยทราบถึงโรคที่เป็นอยู่ · ผู้ป่วยสามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้เป็นปกติ · ไม่ดื่มเหล้า ไม่สูบบุหรี่ ไม่ใช้สารเสพติดใด ๆ
Review of Systems
Physical Examination
NPOผู้ป่วยไม่ได้รับประทานอาหารมาตั้งแต่เที่ยงคืน วันก่อนวันผ่าตัด เริ่มผ่าตัดเวลา 10.15 น. ดังนั้น NPO Time เท่ากับ 10 ชั่วโมง 15 นาที
Lab InvestigationComplete Blood Countเพื่อเป็นการ Screen เบื้องต้น ว่ามีภาวะ anemia, leukocytosis, thrombocytopenia หรือไม่
Urinary Examinationดูว่ามีภาวะการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะหรือไม่ มีน้ำตาลในปัสสาวะหรือไม่ หรือดูความผิดปกติของการทำงานของไต
Fasting Blood Sugarเนื่องจากผู้ป่วยอายุมาก จึงควรทำเพื่อตรวจดูว่ามีภาวะเบาหวานหรือไม่
Liver Function Test, Creatinineเพื่อดูหน้าที่การทำงานของตับ และไต ว่ามีความผิดปกติหรือไม่
Blood GroupGroup A EKGควรทำเนื่องจากผู้ป่วยอายุมากแล้ว หาความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
Chest X-Rayควรทำเช่นเดียวกัน เพื่อหาความผิดปกติของปอด
DiagnosisLarge Cystorectocele
OperationAP repair
Operative Period
Choice of Anesthesiaในผู้ป่วยรายนี้ การผ่าตัด คือ การทำ AP repair ซึ่งน่าจะสามารถทำการระงับความรู้สึกแบบเฉพาะที่ได้ วิธีที่ใช้ ได้แก่ การทำ Spinal Block ข้อดีของการระงับความรู้สึกแบบเฉพาะที่ เมื่อเปรียบเทียบกับ General Anesthesia ได้แก่ stress response จากการผ่าตัดน้อยกว่า เสียเลือดน้อยกว่า ลดการเกิด venous thromboembolism ฤทธิ์ระงับปวดหลังผ่าตัดดีกว่า ผลแทรกซ้อนทางระบบหายใจน้อยกว่า ระบบไหลเวียนเลือดเปลี่ยนแปลงน้อยกว่า ผลดีต่อระบบทางเดินอาหารมากกว่า ผู้ป่วยรู้สึกตัวตลอดเวลา ผู้ป่วยรายนี้ไม่พบ contraindication ในการทำ spinal block คือ ผู้ป่วยยอมรับการทำ ผู้ป่วยไม่มีภาวะ active infection ที่ตำแหน่งหลัง ไม่มี bleeding tendency ไม่มี preexisting neurological deficit ไม่มีภาวะ increased intracranial pressure, ไม่มี hypotension และ cooperation ดี
Anesthetic Procedureเตรียมผู้ป่วย และอุปกรณ์ จัดท่าผู้ป่วย ในผู้ป่วยรายนี้ใช้เป็นท่า lateral position ทำความสะอาดด้านหลังผู้ป่วย ซับน้ำยาฆ่าเชื้อออก หา Landmark ในผู้ป่วยรายนี้แทงที่ L3-4 interspace แทงเข็มแบบ Median approach โดยใช้เข็มเบอร์ 27 ฉีดยาเข้าไป โดยในผู้ป่วยรายนี้เลือกเป็น 0.5 % Bupivacaine 3.4 ml ซึ่งเป็นยาที่นิยมใช้กัน ออกฤทธิ์นานกว่า lodocaine ถึง 3-4 เท่า โดยให้ Morphine 3.4 % ร่วมด้วย เพื่อลดความเจ็บปวดหลังผ่าตัดได้ดีกว่าการใช้ยากลุ่ม opiods ทางอื่น ถอนเข็มออกเมื่อฉีดยาหมด
MaintenanceMonitoring ในผู้ป่วยรายนี้ ได้แก่
ในผู้ป่วยรายนี้ พบว่า Blood pressure และ pulse คงที่ตลอด ไม่มีภาวะความดันโลหิตต่ำ EKG เป็นปกติ สม่ำเสมอ ไม่พบ sign ของการขาดน้ำ ไม่มีภาวะปากแห้ง ผิวแห้ง pulse pressure แคบ หรือ tachycardia ไม่พบภาวะ abdominal respiration หรือ apnea, oxygen saturation ได้ > 96 % ตลอดเวลา ระดับของการชาได้ที่ระดับ T10 ซึ่งเพียงพอในการผ่าตัดทำ AP repair Fluid ที่ให้ในผู้ป่วยรายนี้ ให้เป็น 0.9 % NSS 1000 ml IV ในระหว่างผ่าตัด
End of Anesthesiaผู้ป่วยผ่าตัดเสร็จ เมื่อเวลา 12.00 น. หลังผ่าตัดเสร็จ ย้ายผู้ป่วยไปยังห้อง Recovery Room เนื่องจากเป็นการทำ Spinal Block จึงไม่จำเป็นต้องทำการ reverse
Post-Operative Period
Management in Recovery Roomต้องทำการเฝ้าติดตาม ดูว่ามีผลแทรกซ้อนจากการผ่าตัดหรือไม่ ดู vital sign ว่าปกติหรือไม่ เพื่อเฝ้าระวังภาวะ hypovolemia จากการเสียเลือด คลำ pulse ว่า full ดีหรือไม่ ดูการหายใจ ให้ความอบอุ่นแก่ผู้ป่วย ดูว่ามีคลื่นไส้อาเจียนหรือไม่ ปัสสาวะออกได้เป็นปกติหรือไม่
Recovery ScoreColor (oxygen saturation) ของผู้ป่วยปกติ (แดง) conscious ดี (ตื่นดี) Blood pressure ปกติ ไม่เปลี่ยนแปลง หายใจเองได้ลึก + ไอได้ เคลื่อนไหวได้เป็นปกติ ดังนั้น ในผู้ป่วยรายนี้ มี recovery score = 10 ทั้งเมื่อแรกรับ 15 นาที 30 นาที และเมื่อ discharge
Pain Managementผู้ป่วยรายนี้ ไม่ได้ให้ยาในห้องพักฟื้น การดูแลเรื่องการเจ็บปวด ได้ให้เป็น Tramol 50 mg IV prn q 4 hour งดยาแก้ปวดอื่น ๆ ทาง IV และ IM เป็นเวลา 12 ชั่วโมง
Post-Operative Visit
Visit (Post-op Day 1)ผู้ป่วยรู้สึกตัวดี ไม่คลื่นไส้ ไม่อาเจียน ไม่ปวดศีรษะ ไม่ปวดหลัง ปัสสาวะออกได้ Vital Sign stable ดี BP เป็นปกติ ไม่พบ sensory หรือ motor deficit ไม่มีไข้หลังการผ่าตัด ไม่มีเลือดออกมากผิดปกติที่บริเวณแผล ฟังปอด ปกติดี
Awarenessผู้ป่วยรู้สึกดีตลอดการผ่าตัด
Complicationไม่พบ complication จากการผ่าตัด หรือ จากการทำ spinal block
Satisfaction of the Patientผู้ป่วยพอใจมาก ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด แต่รู้สึกเสียวเล็กน้อยตอนจะแทงหลัง
โดย ธีรยสถ์ นิมมานนท์ |
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 15/06/2010 ได้รับการสนับสนุน Web Hosting จาก SPAComputer.com, ThaWang.com |