ลักษณะของงูชนิดต่างๆ
 

งูพิษในประเทศไทย มีทั้งหมดประมาณ 50 ชนิด

 

งูไม่มีพิษ

แผลจากการกัดจะไม่มีเขี้ยว พบเป็นรอยฟัน กัดเป็นรอยฟันรูปครึ่งวงกลม

งูเหลือม

เป็นงูป่า ถ้าถูกจับที่คอ จะรัด ซึ่งเป็นสันชาตญาณในการเกาะต้นไม้ ไม่มีพิษ อาจกลืนคนได้ ขนาดใหญ่มาก พบมากในกรุงเทพ เนื่องจากเดิมเคยเป็นป่ามาก่อน รวมถึงสามารถแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ประมาณครั้งละ 50 ฟอง ซึ่งหลังจากวางไข่จะดูแล

งูหลาม

แยกจากงูเหลือม โดยดูลายที่หัว ถ้าเป็นงูเหลือม จะมีสีเดียว

งูสิงห์

มีประโยชน์แก่คน ช่วยกินหนู รวมถึงสัตว์แทะต่าง ๆ ซึ่งสามารถคุมปริมาณของหนูได้ดีมาก เป็นหมื่น ต่อปี แม้ว่าจะสามารถกินหนูได้น้อยกว่าสัปดาห์ละ 3 ตัว (หนูเพิ่มปริมาณได้ประมาณคอกละ 15 ตัว ตั้งครรภ์ประมาณ 3 สัปดาห์) เดิมหนูจะมีสิ่งควบคุม คือ นกฮูก และ นกเค้าแมว

งูแสงอาทิตย์

ตาเล็ก เห็นไม่ชัด ไม่ค่อยกัดคน ค่อนข้าง primitive

 

งูมีพิษ

จะมีเขี้ยว 2 อันอยู่ข้างหน้า ถ้าเขี้ยวหักจะสามารถงอกใหม่ได้ จะพบเป็นรอยเขี้ยวได้ แต่ไม่ค่อยพบรอยฟัน มักจะพบเป็นรอยครูดด้วยเสมอ ถ้าเขี้ยวหักจะสามารถงอกเขี้ยวขึ้นมาใหม่ได้ งูประเภท Elapid จะมีเขี้ยวยึดติดแน่นกับ maxilla มีร่องด้านหน้าให้พิษไหลออกมา แต่งูประเภท Viper เขี้ยวจะ movable

งูเห่า (Naja sumatrana, Naja sinensis)

ยาวประมาณ 1.2-2 m พบยาวที่สุดในโลก คือ 2.25 m หัวกลมมน สีต่าง ๆ กัน เกล็ดขนาดใหญ่บนศีรษะ เมื่อถูกรบกวนจะแผ่แม่เบี้ยได้กว้าง สั้น ซึ่งจะสามารถแผ่แม่เบี้ย รวมถึงพ่นพิษได้ตั้งแต่เกิดใหม่ แต่ปริมาณพิษจะน้อยกว่า ที่คอจะมีดอกจันทร์ กลมมน อาศัยอยู่ตามท้องไร่ท้องนา พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย การฉกจะฉกไปด้านหน้าเท่านั้น ไข่ใต้ดิน ปล่อยให้ hatch เอง กัดแล้วหนี จึงมักจะไม่ได้ตัวมาด้วย

งูจงอาง

แผ่แม่เบี้ยได้ แต่ไม่พ่นลมขู่ หัวโต ช่วยกำจัดหนู เขียด และคางคกได้ ปีนต้นไม้ได้แม้หางจะสั้น เกล็ดที่หัวใหญ่ ลายขวางตลอดตัว ว่องไว ปราดเปรียว น้ำพิษจะหนึดมาก จึงกัดแล้วจะย้ำเขี้ยว (lock jaw) จึงมักจะได้ตัว ความรุนแรงของพิษจะน้อยกว่างูเห่า แต่ว่าจะสามารถปล่อยพิษได้ปริมาณมากกว่า เป็นงูป่า จึงมักจะโดนกัดในป่า

งูสามเหลี่ยม

เกล็ดเรียบ อาศัยใกล้แหล่งน้ำ กลางวันจะเซื่องซึม ปราดเปรียวในเวลากลางคืน หางกุดทู่ ความยาวเต็มที่ 2m กินงู กบ เขียด กิ้งก่า จิ้งเหลน ออกลูกเป็นไข่ คนโดนกัดมักจะเป็นพวกที่หาปลาตามชายน้ำ ไม่ค่อยกัดคน กัดเฉพาะเมื่อโดนทำให้เจ็บ และเมื่อกัดมักจะกลับมากัดซ้ำ รอยเขี้ยวเล็ก ไม่มี necrosis

งูทับสมิงคลา

ขนาดเล็ก ยาว 1-1.2m หางเรียว เกล็ดที่หัวใหญ่ พิษรุนแรงมาก ตัวเป็นปล้อง ขาวสลับดำ ปราดเปรียว หากินเวลากลางคืน พบที่จังหวัด ศรีสะเกษ อุบลฯ อุดรฯ สุรินทร์ กินงู โดยเฉพาะงูน้ำเป็นอาหาร เมื่อกัดแล้วจะมีอาการ prolong paralysis ประมาณ 2 สัปดาห์ แล้วค่อย ๆ ดีขึ้น ตัวเล็ก + เขี้ยวเล็ก จึงได้พิษน้อย มีปัญหาในการทำ serum

งูแมวเซา

ขนาดปานกลาง ยาว 1.5 m จมูกใหญ่ เชิดขึ้นไป เมื่อถูกรบกวนจะขด และสูดลม จนตัวพองออก หลางจากนั้นจะพ่นลมออกมา พบเฉพาะบางจังหวัดของไทย มีแต้มเรียงเป็นระเบียบ เกร็ดขนาดเล็ก เกร็ดที่ศีรษะขนาดไม่ใหญ่ ออกลูกเป็นตัว ท้องจะสีครีม มีแต้มเล็ก ๆ ทั่วไป กัดแล้วเกิด bleeding ที่แผล ปวดแผลรุนแรง เกิด bleed ในช่องท้องได้รุนแรง dark brown urine อาจตายจาก renal failure ได้

งูกะปะ

เป็นชนิดเดียวใน neurotoxic ที่มีเกล็ดขนาดใหญ่ที่ศีรษะ ตัวผู้ขนาดเล็กกว่าตัวเมีย พบกระจายทั่วทุกภาคในไทย เมื่อถูกรบกวนจะแผ่แบนราบไปกับพื้น หลังโดนกัดจะเกิดอาการเพียงครึ่งเดียว อาจเกิด delay absorption ได้ ด้านข้างลำตัวมีลายเข้มสามเหลี่ยม โดยปลายแหลมอยู่ที่ spine คอคอด พบโดนกัดในพวกทำสวนยาง กินหนู กิ้งก่า กบ เขียด เป็นอาหาร

งูเขียวหางไหม้

ตัวเขียว (ไม่ใช่ลักษณะจำเพาะ) พบมี Pit Organ เป็นลักษณะจำเพาะ เป็น thermoreceptor ที่ไวมาก เมื่อโดนจบกวน จะแกว่งหาง ไม่มีเสียง พิษรุนแรง โดย งูเขียวหางไหม้ท้องเหลืองจะมีพิษรุนแรงที่สุด คอคอดเล็ก เห็นชัดเจน ตัวผู้มักเห็นทางสีขาว ๆ ข้างลำตัว เกล็ดขนาดเล็ก หากินเวลากลางคืน ตามพื้น กลางวันจะอยู่บนต้นไม้ กินหนู กบ เขียด กิ้งก่า งูเขียวหางไหม้ท้องฟ้า หากินตามพื้นดินในเวลากลางวัน แต่พิษจะอ่อนกว่า

งูทะเล

มีหางเป็นรูปใบพาย งูทะเลหัวดำมีพิษรุนแรงที่สุดในโลก พบโดนกัดได้น้อย
งูไม่สามารถผสมพันธุ์ข้ามพันธุ์ได้ เนื่องจาก มีปัจจัยควบคุม คือ ขนาดของ hemipenis

 

สรุปโดย Thirayost Nimmanon

ปรับปรุงครั้งล่าสุด 15/06/2010

FollowHisSteps.com

ได้รับการสนับสนุน Web Hosting จาก SPAComputer.com, ThaWang.com